- ปลูกแบบหว่าน ห่างจากแถวยาง 2 เมตร เหมาะกับสวนที่โล่งเตียนและเตรียมพื้นที่อย่างดี
- ปลูกแบบเป็นแถว ปลูกห่างกัน 2 เมตร 3 แถว เหมาะกับสวนที่ปลูกพืชแซมและสวนที่อยู่
บนควนเขา
- ปลูกแบบเป็นหลุม ระยะ 30 x 100 ซม. จำนวน 5 แถว เหมาะสำหรับสวนที่มีวัชพืชขึ้น
บ้างแล้วแต่ยังไม่หนาแน่น
ยางพาราพืชเศรษฐกิจไทย
ความรู้เกี่ยวกับยางพารา พันธุ์ยางพารา วิธีการปลูก วิธีการบำรุงรักษา
วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555
พันธุ์พืชคลุมดิน พืชคลุมดิน
พืชคลุมดินที่เหมาะกับการปลูกในสวนยาง เป็นพืชตระกูลถั่ว ได้แก่
1. คาโลโปโกเนียม เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา เลื้อยไปตามผิวดิน ฝักมีขน ใบใหญ่ ดอกเล็ก สีน้ำเงิน
อ่อน เมล็ดเล็กแบนสีน้ำตาลอ่อน เจริญเติบโต คลุมพื้นที่ได้รวดเร็วมากจนแน่นทึบคลุมดินได้หนา 30-60 ซม. ภายในเวลา 5-6 เดือน ออกดอกหลังจากปลูกประมาณ 3-5 เดือน เมื่อมีอายุ 18 เดือนไปแล้วก็เริ่มขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด ชอบฝนตกชุกแต่ไม่ชอบน้ำขัง ไม่ชอบร่มเงา น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ68,400 เม็ด
2. เซนโตรซิมา เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา เลื้อยไปตามผิวดิน ชอบเลื้อยพันขึ้นต้นไม้ ดอกใหญ่
สีม่วงอ่อน ใบเล็ก เมล็ดเล็ก แบน สีน้ำตาลอมเขียว มีลายกระ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ถั่วลาย เถาขึ้นไม่สู้ทึบในระยะแรก เจริญเติบโตช้าแต่ต่อไปจะขึ้นได้แน่นและอยู่ได้นาน รากแทงลงในดินได้ลึกแผ่ออกข้าง ๆ มากชอบดินค่อนข้างดี ไม่ชอบน้ำขัง ขึ้นได้ดีภายใต้ร่มเงา น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ 39,700 เมล็ด
3. เพอราเรีย เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา มีเถาใหญ่ ชอบเลื้อยพันต้นไม้ มีขนมาก ใบใหญ่และหนา ดอกสีม่วง เมล็ดเล็กค่อนข้างกลม สีน้ำตาลแก่ เปลือกเมล็ดแข็ง งอกช้า คลุมดินได้หนาทึบภายใน 5-6 เดือน กินปุ๋ยมาก ไม่ค่อยออกดอก ให้เมล็ดน้อย คลุมดินได้ดีเมื่ออายุ2 ปีไปแล้ว ควบคุมวัชพืชได้ดี ทนร่มเงา ชอบดินเหนียวโปร่ง น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ 82,500 เมล็ด
4. ซีรูเลียม เป็นพืชคลุมชนิดลำต้นเถาเลื้อยแข็งแรง เห็นขนไม่ชัดเถาแก่มีรากเป็นปุ่มเล็ก ๆ สีขาว
เกือบทุกข้อ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันค่อนข้างหนาคล้ายใบโพธิ์ ดอกเป็นช่อสีม่วง เริ่มสร้างดอกในเดือน
ธันวาคม ลักษณะฝักแบนค่อนข้างเหลี่ยม ยาวประมาณ 5 ซม. สีน้ำตาลเข้ม มีเมล็ดฝักละ 2-9 เมล็ด
เมล็ดมีสีเขียวอ่อนจนถึงน้ำตาล ผิวเรียบเป็นมัน ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี การเจริญเติบโตในระยะแรกสู้
วัชพืชไม่ได้ คลุมดินได้หนาทึบในปีที่2 มีจำนวนเมล็ดประมาณ กก.ละ 28,000 เมล็ด
1. คาโลโปโกเนียม เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา เลื้อยไปตามผิวดิน ฝักมีขน ใบใหญ่ ดอกเล็ก สีน้ำเงิน
อ่อน เมล็ดเล็กแบนสีน้ำตาลอ่อน เจริญเติบโต คลุมพื้นที่ได้รวดเร็วมากจนแน่นทึบคลุมดินได้หนา 30-60 ซม. ภายในเวลา 5-6 เดือน ออกดอกหลังจากปลูกประมาณ 3-5 เดือน เมื่อมีอายุ 18 เดือนไปแล้วก็เริ่มขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด ชอบฝนตกชุกแต่ไม่ชอบน้ำขัง ไม่ชอบร่มเงา น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ68,400 เม็ด
2. เซนโตรซิมา เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา เลื้อยไปตามผิวดิน ชอบเลื้อยพันขึ้นต้นไม้ ดอกใหญ่
สีม่วงอ่อน ใบเล็ก เมล็ดเล็ก แบน สีน้ำตาลอมเขียว มีลายกระ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ถั่วลาย เถาขึ้นไม่สู้ทึบในระยะแรก เจริญเติบโตช้าแต่ต่อไปจะขึ้นได้แน่นและอยู่ได้นาน รากแทงลงในดินได้ลึกแผ่ออกข้าง ๆ มากชอบดินค่อนข้างดี ไม่ชอบน้ำขัง ขึ้นได้ดีภายใต้ร่มเงา น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ 39,700 เมล็ด
3. เพอราเรีย เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา มีเถาใหญ่ ชอบเลื้อยพันต้นไม้ มีขนมาก ใบใหญ่และหนา ดอกสีม่วง เมล็ดเล็กค่อนข้างกลม สีน้ำตาลแก่ เปลือกเมล็ดแข็ง งอกช้า คลุมดินได้หนาทึบภายใน 5-6 เดือน กินปุ๋ยมาก ไม่ค่อยออกดอก ให้เมล็ดน้อย คลุมดินได้ดีเมื่ออายุ2 ปีไปแล้ว ควบคุมวัชพืชได้ดี ทนร่มเงา ชอบดินเหนียวโปร่ง น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ 82,500 เมล็ด
4. ซีรูเลียม เป็นพืชคลุมชนิดลำต้นเถาเลื้อยแข็งแรง เห็นขนไม่ชัดเถาแก่มีรากเป็นปุ่มเล็ก ๆ สีขาว
เกือบทุกข้อ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันค่อนข้างหนาคล้ายใบโพธิ์ ดอกเป็นช่อสีม่วง เริ่มสร้างดอกในเดือน
ธันวาคม ลักษณะฝักแบนค่อนข้างเหลี่ยม ยาวประมาณ 5 ซม. สีน้ำตาลเข้ม มีเมล็ดฝักละ 2-9 เมล็ด
เมล็ดมีสีเขียวอ่อนจนถึงน้ำตาล ผิวเรียบเป็นมัน ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี การเจริญเติบโตในระยะแรกสู้
วัชพืชไม่ได้ คลุมดินได้หนาทึบในปีที่2 มีจำนวนเมล็ดประมาณ กก.ละ 28,000 เมล็ด
วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การปลูกพืชคลุมดิน
การปลูกพืชคลุมดิน ในระยะแรกของการปลูกสร้างสวนยาง ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ป้องกันการพังทลายของดิน และช่วยควบคุมวัชพืช เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืช
ประโยชน์ของพืชคลุมดิน
1. ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช
2. ป้องกันการชะล้างหน้าดินและช่วยลดการพังทลายของดิน
3. ช่วยลดอุณหภูมิในดินลงและช่วยรักษาความชื้นในดิน
4. เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน
5. ลำต้นและใบที่ร่วงจะเปลี่ยนเป็นอินทรียวัตถุ
6. ลดการเกิดโรครากของต้นย
ป้องกันการพังทลายของดิน และช่วยควบคุมวัชพืช เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืช
ประโยชน์ของพืชคลุมดิน
1. ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช
2. ป้องกันการชะล้างหน้าดินและช่วยลดการพังทลายของดิน
3. ช่วยลดอุณหภูมิในดินลงและช่วยรักษาความชื้นในดิน
4. เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน
5. ลำต้นและใบที่ร่วงจะเปลี่ยนเป็นอินทรียวัตถุ
6. ลดการเกิดโรครากของต้นย
วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การกำจัดวัชพืช
วัชพืชในสวนยางแบ่งออกเป็นวัชพืชทั่วไปและหญ้าคา สามารถกำจัดได้หลายวิธี เช่น การใช้แรง
คนถาก การไถพรวน การปลูกพืชคลุมดิน และการใช้สารเคมี
การใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช อาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
แต่เกษตรกรมักนิยมใช้ เนื่องจากประหยัดเวลาและแรงงาน
คนถาก การไถพรวน การปลูกพืชคลุมดิน และการใช้สารเคมี
การใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช อาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
แต่เกษตรกรมักนิยมใช้ เนื่องจากประหยัดเวลาและแรงงาน
วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งที่ถูกวิธีช่วยให้ต้นยางมีลำต้นกลม ตรง เปลือกบริเวณที่กรีดไม่มีปุ่มปม ง่ายต่อการ
กรีด ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ทรงพุ่มสมดุล โปร่ง และป้องกันโรคจากเชื้อรา
ข้อควรปฏิบัติในการตัดแต่งกิ่ง
- ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในฤดูแล้ง
- ตัดแต่งกิ่งแขนงในระดับต่ำกว่า 2 เมตร เริ่มตั้งแต่ยางอายุประมาณ 1 ปี
- ในสภาพท้องที่แห้งแล้ง ควรตัดแต่งกิ่งแขนงในระดับต่ำกว่า 1.7 เมตร
- ใช้กรรไกรตัดให้ชิดกับลำต้น ไม่ควรใช้มีดตัดหรือสับ
- อย่าโน้มต้นลงมาเพื่อตัดกิ่ง เพราะทำให้เกิดอันตรายต่อต้นยาง เช่น เปลือกแตก น้ำยางไหลหรือต้นหักได้
- ควรทาสารเคมีป้องกันโรคและแมลงที่รอยแผลตัดแต่งกิ่งทุกครั้ง
กรีด ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ทรงพุ่มสมดุล โปร่ง และป้องกันโรคจากเชื้อรา
ข้อควรปฏิบัติในการตัดแต่งกิ่ง
- ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในฤดูแล้ง
- ตัดแต่งกิ่งแขนงในระดับต่ำกว่า 2 เมตร เริ่มตั้งแต่ยางอายุประมาณ 1 ปี
- ในสภาพท้องที่แห้งแล้ง ควรตัดแต่งกิ่งแขนงในระดับต่ำกว่า 1.7 เมตร
- ใช้กรรไกรตัดให้ชิดกับลำต้น ไม่ควรใช้มีดตัดหรือสับ
- อย่าโน้มต้นลงมาเพื่อตัดกิ่ง เพราะทำให้เกิดอันตรายต่อต้นยาง เช่น เปลือกแตก น้ำยางไหลหรือต้นหักได้
- ควรทาสารเคมีป้องกันโรคและแมลงที่รอยแผลตัดแต่งกิ่งทุกครั้ง
วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ข้อดีของการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง
1. หลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากแม่ปุ๋ยเคมีจัดหามาจำหน่ายได้มี
การตรวจสอบคุณภาพ
2. เกษตรกรมีปุ๋ยใช้ทันเวลา เพียงแต่มีแม่ปุ๋ย 3 ชนิด ก็สามารถผสมปุ๋ยเคมีได้ทุกสูตร โดยไม่ต้องไปจัดซื้อปุ๋ยเม็ดแต่ละครั้ง ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งประกันเรื่องการขาดแคลนปุ๋ยในเวลาที่ต้องการใช้แม่ปุ๋ยเคมีที่เหลือเก็บไว้ใช้ปลายปีโดยไม่เสื่อมคุณภาพ
3.มีอำนาจในการต่อรองราคา เมื่อเกษตรกรผสมปุ๋ยเคมีใช้เองจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดอำนาจใน
การต่อรองราคาจากผู้ผลิตปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด เพราะผู้ขายจำเป็นต้องลดกำไรและปรับราคาให้ถูกลงเพื่อดึงดูดลูกค้ากลับมา มีผลทำให้เกษตรกรซื้อปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดถูกลงด้วย
4. ทำให้เกษตรกรเกิดความรู้ความชำนาญ เมื่อเกษตรกรผสมปุ๋ยสูตรต่าง ๆ แล้ว นำไปใช้กับพืชแต่
ละชนิด เกิดความชำนาญและเกิดความคิดดัดแปลงในการปรับสูตรปุ๋ย โดยการเพิ่ม – ลดปริมาณธาตุอาหารแต่ละชนิดในส่วนผสมของปุ๋ย ทำให้ผู้ใช้ปุ๋ยเคมีเกิดการพัฒนา เป็นหนทางนำไปสู่ความเข้าใจในหลักการและหน้าที่ของแม่ปุ๋ยแต่ละชนิด เกิดผลดีแก่เกษตรกรของประเทศโดยส่วนรวม
5. เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยในราคายุติธรรม ราคาของปุ๋ยผสมใช้เองสูตรต่าง ๆ ถูกกว่าปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดที่
จำหน่าย เพราะลดขั้นตอนการผลิต
6. เกิดการสูญเสียน้อยกว่า ในกรณีที่เกิดผลเสียหาย เช่น น้ำท่วม โรคระบาด พืชผลเสียหายหมด
ความสูญเสียของเกษตรกรที่ใช้แม่ปุ๋ยเคมีผสมเอง เกิดการสูญเสียคิดเป็นจำนวนเงินน้อยกว่า เพราะต้นทุนถูกกว่าเป็นการลดอัตราการเสี่ยงต่อความเสียหาย มีความมั่งคงมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด
7. ทำให้เกษตรกรมีทางเลือกเพิ่มขึ้น สามารถตัดสินใจด้วยตนเองว่าควรใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดที่มี
จำหน่ายทั่วไปหรือจะผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง เมื่อเปรียบเทียบราคา
การตรวจสอบคุณภาพ
2. เกษตรกรมีปุ๋ยใช้ทันเวลา เพียงแต่มีแม่ปุ๋ย 3 ชนิด ก็สามารถผสมปุ๋ยเคมีได้ทุกสูตร โดยไม่ต้องไปจัดซื้อปุ๋ยเม็ดแต่ละครั้ง ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งประกันเรื่องการขาดแคลนปุ๋ยในเวลาที่ต้องการใช้แม่ปุ๋ยเคมีที่เหลือเก็บไว้ใช้ปลายปีโดยไม่เสื่อมคุณภาพ
3.มีอำนาจในการต่อรองราคา เมื่อเกษตรกรผสมปุ๋ยเคมีใช้เองจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดอำนาจใน
การต่อรองราคาจากผู้ผลิตปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด เพราะผู้ขายจำเป็นต้องลดกำไรและปรับราคาให้ถูกลงเพื่อดึงดูดลูกค้ากลับมา มีผลทำให้เกษตรกรซื้อปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดถูกลงด้วย
4. ทำให้เกษตรกรเกิดความรู้ความชำนาญ เมื่อเกษตรกรผสมปุ๋ยสูตรต่าง ๆ แล้ว นำไปใช้กับพืชแต่
ละชนิด เกิดความชำนาญและเกิดความคิดดัดแปลงในการปรับสูตรปุ๋ย โดยการเพิ่ม – ลดปริมาณธาตุอาหารแต่ละชนิดในส่วนผสมของปุ๋ย ทำให้ผู้ใช้ปุ๋ยเคมีเกิดการพัฒนา เป็นหนทางนำไปสู่ความเข้าใจในหลักการและหน้าที่ของแม่ปุ๋ยแต่ละชนิด เกิดผลดีแก่เกษตรกรของประเทศโดยส่วนรวม
5. เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยในราคายุติธรรม ราคาของปุ๋ยผสมใช้เองสูตรต่าง ๆ ถูกกว่าปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดที่
จำหน่าย เพราะลดขั้นตอนการผลิต
6. เกิดการสูญเสียน้อยกว่า ในกรณีที่เกิดผลเสียหาย เช่น น้ำท่วม โรคระบาด พืชผลเสียหายหมด
ความสูญเสียของเกษตรกรที่ใช้แม่ปุ๋ยเคมีผสมเอง เกิดการสูญเสียคิดเป็นจำนวนเงินน้อยกว่า เพราะต้นทุนถูกกว่าเป็นการลดอัตราการเสี่ยงต่อความเสียหาย มีความมั่งคงมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด
7. ทำให้เกษตรกรมีทางเลือกเพิ่มขึ้น สามารถตัดสินใจด้วยตนเองว่าควรใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดที่มี
จำหน่ายทั่วไปหรือจะผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง เมื่อเปรียบเทียบราคา
วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วิธีการผสมปุ๋ย
การผสมปุ๋ยใช้เองเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่เกษตรกรสามารถทำได้เอง เครื่องมือและอุปกรณ์ในการผสม
ปุ๋ยมีเครื่องชั่ง ขันน้ำพลาสติก จอบ หรือ พลั่ว ลานพื้นซีเมนต์หรือลานดินที่แน่นเรียบ โดยมีขั้นตอนการ
ผสม ดังนี้
- ชั่งแม่ปุ๋ยที่มีขนาดสม่ำเสมอใกล้เคียงกันตามน้ำหนักที่ต้องการ แม่ปุ๋ยที่ใช้ในปริมาณมาก
ให้ชั่งก่อน เทลงบนลานผสมปุ๋ยเกลี่ยให้เป็นกองแบน ๆ เสร็จแล้วจึงเอาแม่ปุ๋ยชนิดอื่นที่มีจำนวนน้อยกว่าเททับให้ทั่วกองตามลำดับ
- ใช้พลั่วหรือจอบผสมคลุกเคล้าปุ๋ยให้เข้ากัน โดยพลิกกลับไปมาจนปุ๋ยทุกส่วนผสมเข้ากันอย่างสม่ำเสมอ
- ตักปุ๋ยผสมใส่กระสอบปุ๋ยนำไปใช้ได้ทันที
- ควรผสมปุ๋ยในจำนวนที่ต้องการเท่านั้น ไม่ควรเก็บปุ๋ยผสมไว้นานเกิน 2 สัปดาห์ เพราะปุ๋ยอาจชื้นและจับตัวเป็นก้อนแข็งทำให้ปุ๋ยเสื่อมคุณภาพ
ปุ๋ยมีเครื่องชั่ง ขันน้ำพลาสติก จอบ หรือ พลั่ว ลานพื้นซีเมนต์หรือลานดินที่แน่นเรียบ โดยมีขั้นตอนการ
ผสม ดังนี้
- ชั่งแม่ปุ๋ยที่มีขนาดสม่ำเสมอใกล้เคียงกันตามน้ำหนักที่ต้องการ แม่ปุ๋ยที่ใช้ในปริมาณมาก
ให้ชั่งก่อน เทลงบนลานผสมปุ๋ยเกลี่ยให้เป็นกองแบน ๆ เสร็จแล้วจึงเอาแม่ปุ๋ยชนิดอื่นที่มีจำนวนน้อยกว่าเททับให้ทั่วกองตามลำดับ
- ใช้พลั่วหรือจอบผสมคลุกเคล้าปุ๋ยให้เข้ากัน โดยพลิกกลับไปมาจนปุ๋ยทุกส่วนผสมเข้ากันอย่างสม่ำเสมอ
- ตักปุ๋ยผสมใส่กระสอบปุ๋ยนำไปใช้ได้ทันที
- ควรผสมปุ๋ยในจำนวนที่ต้องการเท่านั้น ไม่ควรเก็บปุ๋ยผสมไว้นานเกิน 2 สัปดาห์ เพราะปุ๋ยอาจชื้นและจับตัวเป็นก้อนแข็งทำให้ปุ๋ยเสื่อมคุณภาพ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)