- ปลูกแบบหว่าน ห่างจากแถวยาง 2 เมตร เหมาะกับสวนที่โล่งเตียนและเตรียมพื้นที่อย่างดี
- ปลูกแบบเป็นแถว ปลูกห่างกัน 2 เมตร 3 แถว เหมาะกับสวนที่ปลูกพืชแซมและสวนที่อยู่
บนควนเขา
- ปลูกแบบเป็นหลุม ระยะ 30 x 100 ซม. จำนวน 5 แถว เหมาะสำหรับสวนที่มีวัชพืชขึ้น
บ้างแล้วแต่ยังไม่หนาแน่น
วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555
พันธุ์พืชคลุมดิน พืชคลุมดิน
พืชคลุมดินที่เหมาะกับการปลูกในสวนยาง เป็นพืชตระกูลถั่ว ได้แก่
1. คาโลโปโกเนียม เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา เลื้อยไปตามผิวดิน ฝักมีขน ใบใหญ่ ดอกเล็ก สีน้ำเงิน
อ่อน เมล็ดเล็กแบนสีน้ำตาลอ่อน เจริญเติบโต คลุมพื้นที่ได้รวดเร็วมากจนแน่นทึบคลุมดินได้หนา 30-60 ซม. ภายในเวลา 5-6 เดือน ออกดอกหลังจากปลูกประมาณ 3-5 เดือน เมื่อมีอายุ 18 เดือนไปแล้วก็เริ่มขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด ชอบฝนตกชุกแต่ไม่ชอบน้ำขัง ไม่ชอบร่มเงา น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ68,400 เม็ด
2. เซนโตรซิมา เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา เลื้อยไปตามผิวดิน ชอบเลื้อยพันขึ้นต้นไม้ ดอกใหญ่
สีม่วงอ่อน ใบเล็ก เมล็ดเล็ก แบน สีน้ำตาลอมเขียว มีลายกระ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ถั่วลาย เถาขึ้นไม่สู้ทึบในระยะแรก เจริญเติบโตช้าแต่ต่อไปจะขึ้นได้แน่นและอยู่ได้นาน รากแทงลงในดินได้ลึกแผ่ออกข้าง ๆ มากชอบดินค่อนข้างดี ไม่ชอบน้ำขัง ขึ้นได้ดีภายใต้ร่มเงา น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ 39,700 เมล็ด
3. เพอราเรีย เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา มีเถาใหญ่ ชอบเลื้อยพันต้นไม้ มีขนมาก ใบใหญ่และหนา ดอกสีม่วง เมล็ดเล็กค่อนข้างกลม สีน้ำตาลแก่ เปลือกเมล็ดแข็ง งอกช้า คลุมดินได้หนาทึบภายใน 5-6 เดือน กินปุ๋ยมาก ไม่ค่อยออกดอก ให้เมล็ดน้อย คลุมดินได้ดีเมื่ออายุ2 ปีไปแล้ว ควบคุมวัชพืชได้ดี ทนร่มเงา ชอบดินเหนียวโปร่ง น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ 82,500 เมล็ด
4. ซีรูเลียม เป็นพืชคลุมชนิดลำต้นเถาเลื้อยแข็งแรง เห็นขนไม่ชัดเถาแก่มีรากเป็นปุ่มเล็ก ๆ สีขาว
เกือบทุกข้อ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันค่อนข้างหนาคล้ายใบโพธิ์ ดอกเป็นช่อสีม่วง เริ่มสร้างดอกในเดือน
ธันวาคม ลักษณะฝักแบนค่อนข้างเหลี่ยม ยาวประมาณ 5 ซม. สีน้ำตาลเข้ม มีเมล็ดฝักละ 2-9 เมล็ด
เมล็ดมีสีเขียวอ่อนจนถึงน้ำตาล ผิวเรียบเป็นมัน ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี การเจริญเติบโตในระยะแรกสู้
วัชพืชไม่ได้ คลุมดินได้หนาทึบในปีที่2 มีจำนวนเมล็ดประมาณ กก.ละ 28,000 เมล็ด
1. คาโลโปโกเนียม เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา เลื้อยไปตามผิวดิน ฝักมีขน ใบใหญ่ ดอกเล็ก สีน้ำเงิน
อ่อน เมล็ดเล็กแบนสีน้ำตาลอ่อน เจริญเติบโต คลุมพื้นที่ได้รวดเร็วมากจนแน่นทึบคลุมดินได้หนา 30-60 ซม. ภายในเวลา 5-6 เดือน ออกดอกหลังจากปลูกประมาณ 3-5 เดือน เมื่อมีอายุ 18 เดือนไปแล้วก็เริ่มขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด ชอบฝนตกชุกแต่ไม่ชอบน้ำขัง ไม่ชอบร่มเงา น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ68,400 เม็ด
2. เซนโตรซิมา เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา เลื้อยไปตามผิวดิน ชอบเลื้อยพันขึ้นต้นไม้ ดอกใหญ่
สีม่วงอ่อน ใบเล็ก เมล็ดเล็ก แบน สีน้ำตาลอมเขียว มีลายกระ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ถั่วลาย เถาขึ้นไม่สู้ทึบในระยะแรก เจริญเติบโตช้าแต่ต่อไปจะขึ้นได้แน่นและอยู่ได้นาน รากแทงลงในดินได้ลึกแผ่ออกข้าง ๆ มากชอบดินค่อนข้างดี ไม่ชอบน้ำขัง ขึ้นได้ดีภายใต้ร่มเงา น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ 39,700 เมล็ด
3. เพอราเรีย เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา มีเถาใหญ่ ชอบเลื้อยพันต้นไม้ มีขนมาก ใบใหญ่และหนา ดอกสีม่วง เมล็ดเล็กค่อนข้างกลม สีน้ำตาลแก่ เปลือกเมล็ดแข็ง งอกช้า คลุมดินได้หนาทึบภายใน 5-6 เดือน กินปุ๋ยมาก ไม่ค่อยออกดอก ให้เมล็ดน้อย คลุมดินได้ดีเมื่ออายุ2 ปีไปแล้ว ควบคุมวัชพืชได้ดี ทนร่มเงา ชอบดินเหนียวโปร่ง น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ 82,500 เมล็ด
4. ซีรูเลียม เป็นพืชคลุมชนิดลำต้นเถาเลื้อยแข็งแรง เห็นขนไม่ชัดเถาแก่มีรากเป็นปุ่มเล็ก ๆ สีขาว
เกือบทุกข้อ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันค่อนข้างหนาคล้ายใบโพธิ์ ดอกเป็นช่อสีม่วง เริ่มสร้างดอกในเดือน
ธันวาคม ลักษณะฝักแบนค่อนข้างเหลี่ยม ยาวประมาณ 5 ซม. สีน้ำตาลเข้ม มีเมล็ดฝักละ 2-9 เมล็ด
เมล็ดมีสีเขียวอ่อนจนถึงน้ำตาล ผิวเรียบเป็นมัน ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี การเจริญเติบโตในระยะแรกสู้
วัชพืชไม่ได้ คลุมดินได้หนาทึบในปีที่2 มีจำนวนเมล็ดประมาณ กก.ละ 28,000 เมล็ด
วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การปลูกพืชคลุมดิน
การปลูกพืชคลุมดิน ในระยะแรกของการปลูกสร้างสวนยาง ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ป้องกันการพังทลายของดิน และช่วยควบคุมวัชพืช เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืช
ประโยชน์ของพืชคลุมดิน
1. ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช
2. ป้องกันการชะล้างหน้าดินและช่วยลดการพังทลายของดิน
3. ช่วยลดอุณหภูมิในดินลงและช่วยรักษาความชื้นในดิน
4. เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน
5. ลำต้นและใบที่ร่วงจะเปลี่ยนเป็นอินทรียวัตถุ
6. ลดการเกิดโรครากของต้นย
ป้องกันการพังทลายของดิน และช่วยควบคุมวัชพืช เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืช
ประโยชน์ของพืชคลุมดิน
1. ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช
2. ป้องกันการชะล้างหน้าดินและช่วยลดการพังทลายของดิน
3. ช่วยลดอุณหภูมิในดินลงและช่วยรักษาความชื้นในดิน
4. เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน
5. ลำต้นและใบที่ร่วงจะเปลี่ยนเป็นอินทรียวัตถุ
6. ลดการเกิดโรครากของต้นย
วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การกำจัดวัชพืช
วัชพืชในสวนยางแบ่งออกเป็นวัชพืชทั่วไปและหญ้าคา สามารถกำจัดได้หลายวิธี เช่น การใช้แรง
คนถาก การไถพรวน การปลูกพืชคลุมดิน และการใช้สารเคมี
การใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช อาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
แต่เกษตรกรมักนิยมใช้ เนื่องจากประหยัดเวลาและแรงงาน
คนถาก การไถพรวน การปลูกพืชคลุมดิน และการใช้สารเคมี
การใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช อาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
แต่เกษตรกรมักนิยมใช้ เนื่องจากประหยัดเวลาและแรงงาน
วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งที่ถูกวิธีช่วยให้ต้นยางมีลำต้นกลม ตรง เปลือกบริเวณที่กรีดไม่มีปุ่มปม ง่ายต่อการ
กรีด ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ทรงพุ่มสมดุล โปร่ง และป้องกันโรคจากเชื้อรา
ข้อควรปฏิบัติในการตัดแต่งกิ่ง
- ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในฤดูแล้ง
- ตัดแต่งกิ่งแขนงในระดับต่ำกว่า 2 เมตร เริ่มตั้งแต่ยางอายุประมาณ 1 ปี
- ในสภาพท้องที่แห้งแล้ง ควรตัดแต่งกิ่งแขนงในระดับต่ำกว่า 1.7 เมตร
- ใช้กรรไกรตัดให้ชิดกับลำต้น ไม่ควรใช้มีดตัดหรือสับ
- อย่าโน้มต้นลงมาเพื่อตัดกิ่ง เพราะทำให้เกิดอันตรายต่อต้นยาง เช่น เปลือกแตก น้ำยางไหลหรือต้นหักได้
- ควรทาสารเคมีป้องกันโรคและแมลงที่รอยแผลตัดแต่งกิ่งทุกครั้ง
กรีด ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ทรงพุ่มสมดุล โปร่ง และป้องกันโรคจากเชื้อรา
ข้อควรปฏิบัติในการตัดแต่งกิ่ง
- ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในฤดูแล้ง
- ตัดแต่งกิ่งแขนงในระดับต่ำกว่า 2 เมตร เริ่มตั้งแต่ยางอายุประมาณ 1 ปี
- ในสภาพท้องที่แห้งแล้ง ควรตัดแต่งกิ่งแขนงในระดับต่ำกว่า 1.7 เมตร
- ใช้กรรไกรตัดให้ชิดกับลำต้น ไม่ควรใช้มีดตัดหรือสับ
- อย่าโน้มต้นลงมาเพื่อตัดกิ่ง เพราะทำให้เกิดอันตรายต่อต้นยาง เช่น เปลือกแตก น้ำยางไหลหรือต้นหักได้
- ควรทาสารเคมีป้องกันโรคและแมลงที่รอยแผลตัดแต่งกิ่งทุกครั้ง
วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ข้อดีของการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง
1. หลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากแม่ปุ๋ยเคมีจัดหามาจำหน่ายได้มี
การตรวจสอบคุณภาพ
2. เกษตรกรมีปุ๋ยใช้ทันเวลา เพียงแต่มีแม่ปุ๋ย 3 ชนิด ก็สามารถผสมปุ๋ยเคมีได้ทุกสูตร โดยไม่ต้องไปจัดซื้อปุ๋ยเม็ดแต่ละครั้ง ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งประกันเรื่องการขาดแคลนปุ๋ยในเวลาที่ต้องการใช้แม่ปุ๋ยเคมีที่เหลือเก็บไว้ใช้ปลายปีโดยไม่เสื่อมคุณภาพ
3.มีอำนาจในการต่อรองราคา เมื่อเกษตรกรผสมปุ๋ยเคมีใช้เองจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดอำนาจใน
การต่อรองราคาจากผู้ผลิตปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด เพราะผู้ขายจำเป็นต้องลดกำไรและปรับราคาให้ถูกลงเพื่อดึงดูดลูกค้ากลับมา มีผลทำให้เกษตรกรซื้อปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดถูกลงด้วย
4. ทำให้เกษตรกรเกิดความรู้ความชำนาญ เมื่อเกษตรกรผสมปุ๋ยสูตรต่าง ๆ แล้ว นำไปใช้กับพืชแต่
ละชนิด เกิดความชำนาญและเกิดความคิดดัดแปลงในการปรับสูตรปุ๋ย โดยการเพิ่ม – ลดปริมาณธาตุอาหารแต่ละชนิดในส่วนผสมของปุ๋ย ทำให้ผู้ใช้ปุ๋ยเคมีเกิดการพัฒนา เป็นหนทางนำไปสู่ความเข้าใจในหลักการและหน้าที่ของแม่ปุ๋ยแต่ละชนิด เกิดผลดีแก่เกษตรกรของประเทศโดยส่วนรวม
5. เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยในราคายุติธรรม ราคาของปุ๋ยผสมใช้เองสูตรต่าง ๆ ถูกกว่าปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดที่
จำหน่าย เพราะลดขั้นตอนการผลิต
6. เกิดการสูญเสียน้อยกว่า ในกรณีที่เกิดผลเสียหาย เช่น น้ำท่วม โรคระบาด พืชผลเสียหายหมด
ความสูญเสียของเกษตรกรที่ใช้แม่ปุ๋ยเคมีผสมเอง เกิดการสูญเสียคิดเป็นจำนวนเงินน้อยกว่า เพราะต้นทุนถูกกว่าเป็นการลดอัตราการเสี่ยงต่อความเสียหาย มีความมั่งคงมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด
7. ทำให้เกษตรกรมีทางเลือกเพิ่มขึ้น สามารถตัดสินใจด้วยตนเองว่าควรใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดที่มี
จำหน่ายทั่วไปหรือจะผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง เมื่อเปรียบเทียบราคา
การตรวจสอบคุณภาพ
2. เกษตรกรมีปุ๋ยใช้ทันเวลา เพียงแต่มีแม่ปุ๋ย 3 ชนิด ก็สามารถผสมปุ๋ยเคมีได้ทุกสูตร โดยไม่ต้องไปจัดซื้อปุ๋ยเม็ดแต่ละครั้ง ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งประกันเรื่องการขาดแคลนปุ๋ยในเวลาที่ต้องการใช้แม่ปุ๋ยเคมีที่เหลือเก็บไว้ใช้ปลายปีโดยไม่เสื่อมคุณภาพ
3.มีอำนาจในการต่อรองราคา เมื่อเกษตรกรผสมปุ๋ยเคมีใช้เองจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดอำนาจใน
การต่อรองราคาจากผู้ผลิตปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด เพราะผู้ขายจำเป็นต้องลดกำไรและปรับราคาให้ถูกลงเพื่อดึงดูดลูกค้ากลับมา มีผลทำให้เกษตรกรซื้อปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดถูกลงด้วย
4. ทำให้เกษตรกรเกิดความรู้ความชำนาญ เมื่อเกษตรกรผสมปุ๋ยสูตรต่าง ๆ แล้ว นำไปใช้กับพืชแต่
ละชนิด เกิดความชำนาญและเกิดความคิดดัดแปลงในการปรับสูตรปุ๋ย โดยการเพิ่ม – ลดปริมาณธาตุอาหารแต่ละชนิดในส่วนผสมของปุ๋ย ทำให้ผู้ใช้ปุ๋ยเคมีเกิดการพัฒนา เป็นหนทางนำไปสู่ความเข้าใจในหลักการและหน้าที่ของแม่ปุ๋ยแต่ละชนิด เกิดผลดีแก่เกษตรกรของประเทศโดยส่วนรวม
5. เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยในราคายุติธรรม ราคาของปุ๋ยผสมใช้เองสูตรต่าง ๆ ถูกกว่าปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดที่
จำหน่าย เพราะลดขั้นตอนการผลิต
6. เกิดการสูญเสียน้อยกว่า ในกรณีที่เกิดผลเสียหาย เช่น น้ำท่วม โรคระบาด พืชผลเสียหายหมด
ความสูญเสียของเกษตรกรที่ใช้แม่ปุ๋ยเคมีผสมเอง เกิดการสูญเสียคิดเป็นจำนวนเงินน้อยกว่า เพราะต้นทุนถูกกว่าเป็นการลดอัตราการเสี่ยงต่อความเสียหาย มีความมั่งคงมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด
7. ทำให้เกษตรกรมีทางเลือกเพิ่มขึ้น สามารถตัดสินใจด้วยตนเองว่าควรใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดที่มี
จำหน่ายทั่วไปหรือจะผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง เมื่อเปรียบเทียบราคา
วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วิธีการผสมปุ๋ย
การผสมปุ๋ยใช้เองเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่เกษตรกรสามารถทำได้เอง เครื่องมือและอุปกรณ์ในการผสม
ปุ๋ยมีเครื่องชั่ง ขันน้ำพลาสติก จอบ หรือ พลั่ว ลานพื้นซีเมนต์หรือลานดินที่แน่นเรียบ โดยมีขั้นตอนการ
ผสม ดังนี้
- ชั่งแม่ปุ๋ยที่มีขนาดสม่ำเสมอใกล้เคียงกันตามน้ำหนักที่ต้องการ แม่ปุ๋ยที่ใช้ในปริมาณมาก
ให้ชั่งก่อน เทลงบนลานผสมปุ๋ยเกลี่ยให้เป็นกองแบน ๆ เสร็จแล้วจึงเอาแม่ปุ๋ยชนิดอื่นที่มีจำนวนน้อยกว่าเททับให้ทั่วกองตามลำดับ
- ใช้พลั่วหรือจอบผสมคลุกเคล้าปุ๋ยให้เข้ากัน โดยพลิกกลับไปมาจนปุ๋ยทุกส่วนผสมเข้ากันอย่างสม่ำเสมอ
- ตักปุ๋ยผสมใส่กระสอบปุ๋ยนำไปใช้ได้ทันที
- ควรผสมปุ๋ยในจำนวนที่ต้องการเท่านั้น ไม่ควรเก็บปุ๋ยผสมไว้นานเกิน 2 สัปดาห์ เพราะปุ๋ยอาจชื้นและจับตัวเป็นก้อนแข็งทำให้ปุ๋ยเสื่อมคุณภาพ
ปุ๋ยมีเครื่องชั่ง ขันน้ำพลาสติก จอบ หรือ พลั่ว ลานพื้นซีเมนต์หรือลานดินที่แน่นเรียบ โดยมีขั้นตอนการ
ผสม ดังนี้
- ชั่งแม่ปุ๋ยที่มีขนาดสม่ำเสมอใกล้เคียงกันตามน้ำหนักที่ต้องการ แม่ปุ๋ยที่ใช้ในปริมาณมาก
ให้ชั่งก่อน เทลงบนลานผสมปุ๋ยเกลี่ยให้เป็นกองแบน ๆ เสร็จแล้วจึงเอาแม่ปุ๋ยชนิดอื่นที่มีจำนวนน้อยกว่าเททับให้ทั่วกองตามลำดับ
- ใช้พลั่วหรือจอบผสมคลุกเคล้าปุ๋ยให้เข้ากัน โดยพลิกกลับไปมาจนปุ๋ยทุกส่วนผสมเข้ากันอย่างสม่ำเสมอ
- ตักปุ๋ยผสมใส่กระสอบปุ๋ยนำไปใช้ได้ทันที
- ควรผสมปุ๋ยในจำนวนที่ต้องการเท่านั้น ไม่ควรเก็บปุ๋ยผสมไว้นานเกิน 2 สัปดาห์ เพราะปุ๋ยอาจชื้นและจับตัวเป็นก้อนแข็งทำให้ปุ๋ยเสื่อมคุณภาพ
วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง
นอกจากใช้ปุ๋ยสูตรสำเร็จแล้ว เกษตรกรสามารถผสมปุ๋ยเคมีใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีสูตรสำเร็จ โดยการนำแม่ปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุอาหารหลักมาผสมใช้เองตามสูตรที่ต้องการ สำหรับแม่ปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้เป็นแม่ปุ๋ยที่สะดวกในการจัดซื้อและราคาถูก ได้แก่
- ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ( 18-46-0)
- ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0 )
- ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์( 0-0-60 )
- ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ( 18-46-0)
- ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0 )
- ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์( 0-0-60 )
วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด
ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด
- ทุกเขตปลูกยางใช้ปุ๋ยสูตร 30 – 5 – 18
- ทั้งเขตปลูกยางเดิมและเขตปลูกยางใหม่ให้ใส่ปุ๋ยครั้งละ 500 กรัม ต่อต้น ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ต้นฤดูฝนประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม หลังจากยางผลัดใบในขณะที่ใบยังเป็นใบ เพสลาด และครั้งที่2 ใส่ประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน ก่อนที่ใบยางจะแก่
วิธีการใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด
- ในพื้นที่ราบ ให้หว่านปุ๋ยห่างจากบริเวณโคนต้นยางประมาณ 3 เมตร หรือบริเวณกึ่งกลาง
ระหว่างแถว คราดกลบให้ปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดิน
- ในพื้นที่ลาดเทที่ไม่ต้องทำขั้นบันไดหรือท้องที่ที่มีฝนตกชุก ให้ใส่แบบหลุม 4 หลุม รอบ
ต้นแล้วฝังกลบ
- ในพื้นที่ลาดชันที่ทำขั้นบันได ให้หว่านปุ๋ยลงบนขั้นบันไดตลอดแถวยาง
- ทุกเขตปลูกยางใช้ปุ๋ยสูตร 30 – 5 – 18
- ทั้งเขตปลูกยางเดิมและเขตปลูกยางใหม่ให้ใส่ปุ๋ยครั้งละ 500 กรัม ต่อต้น ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ต้นฤดูฝนประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม หลังจากยางผลัดใบในขณะที่ใบยังเป็นใบ เพสลาด และครั้งที่2 ใส่ประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน ก่อนที่ใบยางจะแก่
วิธีการใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด
- ในพื้นที่ราบ ให้หว่านปุ๋ยห่างจากบริเวณโคนต้นยางประมาณ 3 เมตร หรือบริเวณกึ่งกลาง
ระหว่างแถว คราดกลบให้ปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดิน
- ในพื้นที่ลาดเทที่ไม่ต้องทำขั้นบันไดหรือท้องที่ที่มีฝนตกชุก ให้ใส่แบบหลุม 4 หลุม รอบ
ต้นแล้วฝังกลบ
- ในพื้นที่ลาดชันที่ทำขั้นบันได ให้หว่านปุ๋ยลงบนขั้นบันไดตลอดแถวยาง
วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วิธีการใส่ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด
1. ใส่แบบหว่าน เหมาะสำหรับพื้นที่ราบ เมื่อหว่านแล้วคราดกลบ
2. ใส่เป็นแถบ เหมาะสำหรับพื้นที่ลาดเทเล็กน้อย หรือพื้นที่ที่ทำขั้นบันได โดยเซาะร่องใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
3. ใส่แบบหลุม เหมาะสำหรับพื้นที่ลาดชัน ใช้ 2 หลุมต่อต้นแล้วฝังกลบ
2. ใส่เป็นแถบ เหมาะสำหรับพื้นที่ลาดเทเล็กน้อย หรือพื้นที่ที่ทำขั้นบันได โดยเซาะร่องใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
3. ใส่แบบหลุม เหมาะสำหรับพื้นที่ลาดชัน ใช้ 2 หลุมต่อต้นแล้วฝังกลบ
วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การใช้ปุ๋ยในสวนยาง
พื้นที่ปลูกยางส่วนใหญ่เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เคยทาํ การเกษตรมาก่อน จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยบำรุงให้ต้นยางอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของต้นยางในการสร้างความเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตที่สูง
ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด
- เขตปลูกยางเดิม ใช้ปุ๋ยสูตร 20-8-20
- เขตปลูกยางใหม่ ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-12
ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด
- เขตปลูกยางเดิม ใช้ปุ๋ยสูตร 20-8-20
- เขตปลูกยางใหม่ ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-12
วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การปลูกพืชร่วมยาง
พืชร่วมยาง หมายถึง พืชที่ปลูกควบคู่กับการปลูกยาง สามารถเจริญเติบโตร่วมกับยางได้
หลักในการพิจารณาปลูกพืชร่วมยาง
- คำนึงผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกพืชร่วมยางแต่ละชนิด
- เกษตรกรควรคุ้นเคยกับการปฏิบัติดูแลรักษาพืชร่วมยางที่เลือกปลูก
- พืชร่วมยางที่ปลูกต้องไม่กระทบกระเทือนการปฏิบัติงานในสวนยาง หรือมีผลต่อการ
เจริญเติบโตของต้นยาง จนทำให้ผลผลิตจากต้นยางลดลง
- ชนิดของพืชร่วมยางที่สำคัญ ได้แก่ ระกำหวาน สละ หวาย กระวาน หน้าวัว ฯลฯ
หลักในการพิจารณาปลูกพืชร่วมยาง
- คำนึงผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกพืชร่วมยางแต่ละชนิด
- เกษตรกรควรคุ้นเคยกับการปฏิบัติดูแลรักษาพืชร่วมยางที่เลือกปลูก
- พืชร่วมยางที่ปลูกต้องไม่กระทบกระเทือนการปฏิบัติงานในสวนยาง หรือมีผลต่อการ
เจริญเติบโตของต้นยาง จนทำให้ผลผลิตจากต้นยางลดลง
- ชนิดของพืชร่วมยางที่สำคัญ ได้แก่ ระกำหวาน สละ หวาย กระวาน หน้าวัว ฯลฯ
วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555
หลักในการพิจารณาปลูกพืชแซมยาง
- ควรปลูกพืชที่ตลาดมีความต้องการ
- ควรใช้แรงงานในครอบครัว
- พืชที่ปลูกควรเป็นพืชล้มลุก อายุสั้น
- ไม่ควรปลูกหลังจากต้นยางอายุ3 ปี
- การปลูกพืชแซม ควรปลูกห่างจากแถวยางไม่ต่ำกว่า 1 เมตร
- ควรมีการใส่ปุ๋ยให้กับพืชแซมด้วย
- การปลูกพืชไร่ต่าง ๆ เป็นพืชแซมยาง ควรปลูกสลับกับพืชตระกูลถั่ว
- ไม่ควรปลูกพืชแซมยางในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
- พืชที่ไม่แนะนำ คือ มันสำปะหลัง และละหุ่ง
- การปลูกพืชแซมยาง ควรเว้นระยะระหว่างแถวยางไม่ต่ำกว่า 7 เมตร แต่ต้องมีจำนวน ต้นยางไม่น้อยกว่า 64 ต้นต่อไร่
- หลังจากปลูกพืชแซมยาง ให้ปลูกพืชตระกูลถั่วแทนทันที
- ควรใช้แรงงานในครอบครัว
- พืชที่ปลูกควรเป็นพืชล้มลุก อายุสั้น
- ไม่ควรปลูกหลังจากต้นยางอายุ3 ปี
- การปลูกพืชแซม ควรปลูกห่างจากแถวยางไม่ต่ำกว่า 1 เมตร
- ควรมีการใส่ปุ๋ยให้กับพืชแซมด้วย
- การปลูกพืชไร่ต่าง ๆ เป็นพืชแซมยาง ควรปลูกสลับกับพืชตระกูลถั่ว
- ไม่ควรปลูกพืชแซมยางในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
- พืชที่ไม่แนะนำ คือ มันสำปะหลัง และละหุ่ง
- การปลูกพืชแซมยาง ควรเว้นระยะระหว่างแถวยางไม่ต่ำกว่า 7 เมตร แต่ต้องมีจำนวน ต้นยางไม่น้อยกว่า 64 ต้นต่อไร่
- หลังจากปลูกพืชแซมยาง ให้ปลูกพืชตระกูลถั่วแทนทันที
วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การปลูกพืชแซมยาง
การปลูกพืชแซมยาง
พืชแซมยาง หมายถึงพืชที่ปลูกระหว่างแถวยางในขณะที่ต้นยางมีอายุไม่เกิน 3 ปี ได้แก่ ข้าวไร่
ข้าวโพด สับปะรด กล้วย ฯลฯ
พืชแซมยาง หมายถึงพืชที่ปลูกระหว่างแถวยางในขณะที่ต้นยางมีอายุไม่เกิน 3 ปี ได้แก่ ข้าวไร่
ข้าวโพด สับปะรด กล้วย ฯลฯ
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การเสริมรายได้เจ้าของสวนยาง
ในช่วงระยะ 1-3 ปี หลังปลูกยาง เจ้าของสวนไม่มีรายได้จากสวนยาง สามารถหารายได้เสริมด้วย
การปลูกพืชแซมยาง และเมื่อต้นยางให้ผลผลิตแล้ว เจ้าของสวนยางสามารถปลูกพืชร่วมยางควบคู่กับการ
ทำสวนยางเพิ่มรายได้
การปลูกพืชแซมยาง และเมื่อต้นยางให้ผลผลิตแล้ว เจ้าของสวนยางสามารถปลูกพืชร่วมยางควบคู่กับการ
ทำสวนยางเพิ่มรายได้
วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555
เทคนิคการปลูกด้วยยางชำถุง
การปลูกด้วยยางชำถุง
- ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
- ใช้ต้นยางชำถุง ขนาด 1-2 ฉัตร ควรเลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคและแมลงศัตรู
- ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม
- ใช้มีดเฉือนก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว แล้วกรีดด้านข้างของถุงให้ขาดจากกัน แต่ยัง
ไม่ดึงถุงออกนำไปวางในหลุม ทยอยกลบดินลงหลุมจนเกือบเต็มหลุม แล้วให้ดึงถุงพลาสติกออก ระวัง
อย่าให้ดินในถุงพลาสติกแตก กลบดินจนเสมอปากหลุม และอัดดินให้แน่นโดยให้บริเวณโคนต้นยางสูง
กว่าเล็กน้อย เพื่อมิให้น้ำขังในหลุม
- หากมีต้นยางตายหลังปลูก ควรปลูกซ่อมก่อนหมดฤดูฝนอย่างน้อย 2 เดือน และไม่ควรปลูก
ซ่อมเมื่อต้นยางอายุ 2 ปีขึ้นไป
- ก่อนเข้าฤดูแล้ง ควรใช้เศษพืชคลุมบริเวณรอบโคนต้นยาง ห่างจากต้นยางประมาณ 5-10 ซม.
- การปลูกยางในท้องที่แห้งแล้ง แนะนำให้ใช้ต้นยางชำถุงเพียงอย่างเดียวโดยวิธีปลูกเดียวกัน แต่
ขนาดหลุมลึกเป็น 75 ซม. และรองก้นหลุมเพิ่มด้วยปุ๋ยอินทรีย์หลุมละ 5 กก.
- ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
- ใช้ต้นยางชำถุง ขนาด 1-2 ฉัตร ควรเลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคและแมลงศัตรู
- ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม
- ใช้มีดเฉือนก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว แล้วกรีดด้านข้างของถุงให้ขาดจากกัน แต่ยัง
ไม่ดึงถุงออกนำไปวางในหลุม ทยอยกลบดินลงหลุมจนเกือบเต็มหลุม แล้วให้ดึงถุงพลาสติกออก ระวัง
อย่าให้ดินในถุงพลาสติกแตก กลบดินจนเสมอปากหลุม และอัดดินให้แน่นโดยให้บริเวณโคนต้นยางสูง
กว่าเล็กน้อย เพื่อมิให้น้ำขังในหลุม
- หากมีต้นยางตายหลังปลูก ควรปลูกซ่อมก่อนหมดฤดูฝนอย่างน้อย 2 เดือน และไม่ควรปลูก
ซ่อมเมื่อต้นยางอายุ 2 ปีขึ้นไป
- ก่อนเข้าฤดูแล้ง ควรใช้เศษพืชคลุมบริเวณรอบโคนต้นยาง ห่างจากต้นยางประมาณ 5-10 ซม.
- การปลูกยางในท้องที่แห้งแล้ง แนะนำให้ใช้ต้นยางชำถุงเพียงอย่างเดียวโดยวิธีปลูกเดียวกัน แต่
ขนาดหลุมลึกเป็น 75 ซม. และรองก้นหลุมเพิ่มด้วยปุ๋ยอินทรีย์หลุมละ 5 กก.
วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555
เทคนิคการปลูกด้วยต้นตอตา
การปลูกด้วยต้นตอตา
- ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
- เลือกต้นตอตาที่สมบูรณ์ ตานูนโตเห็นเด่นชัด
- ทำการกลบหลุมที่เตรียมไว้ แล้วใช้ไม้ปลายแหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อย แทง
กลางหลุมให้ลึกเท่ากับความยาวของราก
- นำต้นตอตามาปักตามรอยแทง ให้แผ่นตาอยู่แนวเหนือ-ใต้ และอยู่เหนือพื้นดินประมาณ1ซม.
- กลบดินจนเสมอปากหลุมและอัดดันให้แน่น ให้ดินบริเวณโคนต้นยางสูงกว่าเล็กน้อยเพื่อมิให้
น้ำขังในหลุม
- คลุมโคนต้นด้วยฟางข้าว หรือเศษพืชคลุม หรือเศษวัสดุคลุมดินที่หาง่ายในท้องถิ่น
- ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
- เลือกต้นตอตาที่สมบูรณ์ ตานูนโตเห็นเด่นชัด
- ทำการกลบหลุมที่เตรียมไว้ แล้วใช้ไม้ปลายแหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อย แทง
กลางหลุมให้ลึกเท่ากับความยาวของราก
- นำต้นตอตามาปักตามรอยแทง ให้แผ่นตาอยู่แนวเหนือ-ใต้ และอยู่เหนือพื้นดินประมาณ1ซม.
- กลบดินจนเสมอปากหลุมและอัดดันให้แน่น ให้ดินบริเวณโคนต้นยางสูงกว่าเล็กน้อยเพื่อมิให้
น้ำขังในหลุม
- คลุมโคนต้นด้วยฟางข้าว หรือเศษพืชคลุม หรือเศษวัสดุคลุมดินที่หาง่ายในท้องถิ่น
วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555
พันธุ์ยาง BPM 1
แม่– พ่อพันธุ์
AVROS
163 x AVROS 308
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบมีรูปร่างป้อมกลางใบ
สีเขียวเข้ม ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม ในช่วงยางอ่อนแตกกิ่งระดับต่ำ การแตกกิ่งสมดุล
กิ่งมีขนาดเล็กจำนวนมาก ทรงพุ่มเป็นรูปกรวย พุ่มใบทึบ เมื่ออายุมากทิ้งกิ่ง เหลือกิ่งขนาดใหญ่ 3-5 กิ่งในระดับสูง
ทำให้ทรงพุ่มโปร่งรูปทรงลำต้นตรง มีลักษณะกลม เริ่มผลัดใบเร็ว
ลักษณะทางการเกษตร
การเจริญเติบโตดีมาก
ในช่วงอายุ6 ปี15 ปี และ 20 ปีให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น
0.10 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น 0.31 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น
และ 0.43 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.12 ลูกบาศก์เมตรต่อไร 22.91 ลูกบาศก์เมตรต่อไร และ
28.73 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ตามลำดับ ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราระดับดี
ต้านทานต่อโรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพู
ระดับปานกลาง และต้านทานลมระดับค่อนข้างดี
วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555
พันธุ์ยาง AVROS 2037
แม่– พ่อพันธุ์
AVROS
256 x AVROS 352
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบมีรูปร่างป้อมปลายใย
สีเขียว ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม ในช่วงยางอ่อนแตกกิ่งขนาดเล็กจำนวนมากพุ่มใบทึบ
ทิ้งกิ่งเล็กค่อนข้างเร็ว เมื่ออายุมากเหลือกิ่งขนาดใหญ่ 1-2 กิ่งในระดับสูง
ทำให้ทรงพุ่มโปร่ง รูปทรงลำต้นตรง มีลักษณะกลม เริ่มผลัดใบเร็ว
ลักษณะทางการเกษตร
การเจริญเติบโตดีมาก
ในช่วงอายุ 6 ปี15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น
0.10 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น 0.31 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น
และ 0.43 ลูกบาศก์เมตร ต่อต้น คิดเป็น 7.22 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ 23.07 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ และ
28.90 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ตามลำดับอ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราต้านทานปานกลางต่อโรคราแป้ง
ต้านทานดีต่อโรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพูต้านทานลมในระดับค่อนข้างดี
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555
พันธุ์ยาง RRIT 402
แม่– พ่อพันธุ์
RRIC
110 ill.*
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ
สีเขียวเข้ม ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย ในช่วงยางอ่อน แตกกิ่งขนาดกลางและเล็กจำนวนมาก
การแตกกิ่งอยู่ในระดับสูง ลักษณะการแตกกิ่งสมดุล รูปทรงลำต้นตรง มีลักษณะกลม ทรงพุ่มขนาดค่อนข้างใหญ่
เริ่มผลัดใบเร็ว
ลักษณะทางการเกษตร
การเจริญเติบโตดีมาก
ในช่วงอายุ6 ปี มีปริมาตรไม้ในส่วนท่อนซุง 0.11 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น
คิดเป็น 7.76 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคราแป้งระดับปานกลาง
ต้านทานโรคใบจุดนูนระดับดี
วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555
พันธุ์ยาง RRIC 110
แม่– พ่อพันธุ์
LCB1
320 x RRIC 7
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ
สีเขียวเข้ม ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย ลักษณะลำต้นตรง ในช่วงยางอ่อนแตกกิ่งขนาดกลางและเล็กจำนวนมาก
พุ่มใบทึบ อายุมากทิ้ง กิ่งด้านล่าง เหลือกิ่งขนาดใหญ่ 2-3 กิ่ง ทำให้พุ่มใบค่อนข้างบาง
ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปพัด เริ่มผลัดใบช้า
ลักษณะทางการเกษตร
ในระยะก่อนเปิดกรีดการเจริญเติบโตดีมาก
และระหว่างกรีดการเจริญเติบโตปานกลาง
เปลือกเดิมหนาและเปลือกงอกใหม่บาง
ผลผลิตเนื้อยาง
10 ปีกรีดเฉลี่ย 324 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์RRIM
600 ร้อยละ 27 ในช่วงอายุ15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น
0.29 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และ 0.40 ลูกบาศก์เมตรต่อ
ต้น คิดเป็น 21.86 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่และ 27.55 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ตามลำดับ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราระดับดีต้านทานปานกลางต่อโรคราแป้ง
โรคใบจุดนูน โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู ต้านทานลมในระดับปานกลาง
วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555
พันธุ์ยาง PB 260
แม่– พ่อพันธุ์
PB
5 / 51 x PB 49
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ
สีเขียวเข้ม ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย ลักษณะลำต้นตรง การแตกกิ่งสมดุลดี กิ่งมีขนาดเล็กจำนวนมาก
พุ่มใบทึบ อายุมากทิ้งกิ่งด้านล่าง ทำให้พุ่มใบค่อนข้างบาง ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปรี
เริ่มผลัดใบค่อนข้างช้า
ลักษณะทางการเกษตร
ในระยะก่อนเปิดกรีดการเจริญเติบโตดี
และระหว่างกรีดการเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่บาง ผลผลิตเนื้อยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย
322 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์RRIM 600 ร้อยละ 32 ในช่วงอายุ15 ปี และ
20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.26 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น
และ 0.36 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 19.90 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ และ 25.53 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ตามลำดับ
มีจำนวนต้นเปลือกแห้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคราแป้ง
โรคใบจุดนูน และโรคเส้นดำ ต้านทานดีต่อโรคราสีชมพู และต้านทานลมในระดับค่อนข้างดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)