วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พันธุ์ยาง PB 255


แม่พ่อพันธุ์
PB 5 / 51 x PB 32 / 36
ลักษณะประจำพันธุ์ ใบมีรูปร่างป้อมกลางใบ สีเขียวอ่อน ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม ลักษณะ
ลำต้นตรง ระยะยางอ่อนแตกกิ่งเร็ว กิ่งมีขนาดเล็กจำนวนมาก พุ่มใบทึบ ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม เริ่มผลัดใบค่อนข้างช้า
ลักษณะทางการเกษตร
ในระยะก่อนเปิดกรีดการเจริญเติบโตดี และระหว่างกรีดการเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนา ผลผลิตเนื้อยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 318 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์RRIM 600 ร้อยละ 46 ในช่วงอายุ15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.28 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และ 0.39 ลูกบาศก์เมตรต่อ ต้น คิดเป็น 21.57 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ และ 27.24 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ตามลำดับ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งปานกลาง อ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราโรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพู ต้านทานโรคราแป้งและโรคเส้นดำระดับปาน
กลางและต้านทานลมในระดับค่อนข้างดี

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พันธุ์ยาง PB 235


แม่พ่อพันธุ์
PB5 / 51 x PB S / 78
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบมีรูปร่างป้อมกลางใบ สีเขียว ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย ระยะยางอ่อนแตกกิ่ง
เร็วพุ่มใบค่อนข้างทึบ ลักษณะลำต้นตรงดี กิ่งมีขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่ออายุมากทิ้งกิ่งมาก เหลือกิ่งขนาดกลาง 4-5 กิ่งในระดับสูง ทำให้พุ่มใบบาง ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลมเริ่มผลัดใบช้า และทยอยผลัดใบ
ลักษณะทางการเกษตร

พันธุ์ยาง RRIM 600


แม่พ่อพันธุ์
Tjir 1 x PB 86
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียวอมเหลือง ลักษณะฉัตรใบเป็นรูปกรวย มีขนาด
เล็ก ในระยะ 2 ปีแรกต้นยางจะมีลักษณะลำต้นตรง แต่เรียวเล็ก การแตกกิ่งช้าลักษณะการแตกกิ่งเป็นมุมแหลม กิ่งที่แตกค่อนข้างยาว ทรงพุ่มมีขนาดปานกลางเป็นรูปพัด เริ่มผลัดใบเร็ว
ลักษณะทางการเกษตร
ในระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีด การเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมบาง
เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง ผลผลิตระยะแรกอยู่ในระดับปานกลาง แต่จะเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีต่อมา ให้ผลผลิตเนื้อยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 289 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย อ่อนแอมากต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา และโรคเส้นดำ ต้านทานโรคราแป้งและโรคใบจุดนูนในระดับปานกลางอ่อนแอต่อโรคราสีชมพู ต้านทานลมระดับปานกลาง

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พันธุ์ยาง BPM 24


แม่พ่อพันธุ์
GT 1 x AVROS 1734
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบมีรูปร่างป้อมกลางใบ สีเขียว ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวยตัด ลักษณะลำต้นตรง แตกกิ่งมาก กิ่งมีขนาดปานกลาง มีการทิ้งกิ่งน้อย พุ่มใบค่อนข้างทึบ ทรงพุ่ม มีขนาดปานกลางเป็นรูปกรวย เริ่มผลัดใบเร็ว และ ทยอย ผลัดใบ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พันธุ์ยาง RRIT 226


แม่พ่อพันธุ์
PB 5 / 51 x RRIM 600
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียว ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย มีขนาดเล็ก ลักษณะ ลำต้นตรง กิ่งมีขนาดปานกลาง และแตกกิ่งเล็กจำนวนมาก ทรงพุ่มมีขนาดปานกลาง เป็นรูปพัด เริ่มผลัดใบเร็ว

พันธุ์ยาง RRIT 251


แม่พ่อพันธุ์ RRIT 251           
ต้นกล้ายางจากแปลงเอกชนในจังหวัดสงขลา
ลักษณะประจำพันธุ์      
ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ ขอบใบเป็นคลื่น ใบมีสีเขียว ฉัตรใบมีขนาดใหญ่เป็นรูปกรวย ในช่วงยางอ่อนลำต้นคด แตกกิ่งมากทั้งกิ่งขนาดกลางและขนาดใหญ่ การแตกกิ่งไม่สมดุล ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม เริ่มผลัดใบค่อนข้างช้า

พันธุ์ยางพารา

กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำพันธุ์ยาง 3 กลุ่ม
          1. กลุ่มพันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง
เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อยางสูงเป็นหลัก มี4 พันธุ์คือ พันธุ์สาถาบันวิจัยยาง 251 สถาบันวิจัยยาง
226 BPM 24 และ RRIM 600
          2. กลุ่มพันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง
เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อยางสูงและมีการเจริญเติบโตดีลักษณะลำต้นตรง และให้ปริมาตรเนื้อไม้
ในส่วนลำต้นสูง มี4 พันธุ์ คือ พันธุ์PB 235 PB 255 PB 260 และ RRIC 110
          3. กลุ่มพันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง
เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูงเป็นหลัก มีการเจริญเติบโตดีมาก ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อ
ไม้ในส่วนลำต้นสูง เหมาะสำหรับเป็นพันธุ์ที่จะปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการผลิตเนื้อไม้ มี 3 พันธุ์ คือ
ฉะเชิงเทรา 50 AVROS 2037 และ BPM 1

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ต้นยางชำถุง

          ต้นยางชำถุง หมายถึง วัสดุปลูกที่ได้จากการนำเอาต้นตอตามาชำในถุง โดยใช้เวลาชำในถุง
ประมาณ 2-3 เดือน จนได้ต้นยางชำถุงขนาด 1-2 ฉัตร ซึ่งมีสภาพพร้อมที่จะนำไปปลูกในแปลงได้ ขนาด
ของถุงที่ใช้ชำคือ 5 x 15 นิ้ว สีดำ เจาะรูขนาด 3 มม. ประมาณ 3 แถว ๆ ละ 5-7 รู

ต้นตอตายางพารา

          ต้นตอตา หมายถึง ต้นกล้ายางที่ได้รับการติดตาด้วยยางพันธุ์ดี แต่ตายังไม่แตกออกมา มีแผ่นตาและตาที่เป็นตุ่มติดอยู่เท่านั้น ขุดถอนแล้วตัดต้นเดิมเหนือแผ่นตาขึ้นไปไม่น้อยกว่า 8 ซม. เพื่อนำไปปลูกในแปลงที่เตรียมพื้นที่ไว้เรียบร้อยแล้ว

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเตรียมหลุมปลูก

การขุดหลุมปลูกยางให้ขุดด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบตลอดแนว โดยแยกดินที่ขุดเป็น 2 กอง คือ ดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ผึ่งแดดไว้ประมาณ 10 วัน เพื่อให้ดินแห้ง แล้วย่อยดินชั้นบนใส่รองก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างให้ผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) อัตราหลุมละ 170 กรัม ในแหล่งปลูกยางใหม่ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ต้นละ 5 กก. รองก้นหลุมร่วมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต แล้วกลบหลุม ขนาดของหลุม 50 x 50 x 50 เซนติเมตร (กว้าง x ยาว x ลึก)
สำหรับการขุดหลุมปลูกในพื้นที่ลาดเท เมื่อปักไม้ชะมบเรียบร้อยแล้วควรขุดหลุมเยื้องไปด้านในควนเล็กน้อย เมื่อปลูกยางไปแล้วอาจต้องแต่งชานเพิ่มเติม โดยขุดดินบนควนมากลบด้านนอก ซึ่งจะทำให้ต้นยางอยู่กลางขั้นบันไดพอดี

การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา


การเตรียมพื้นที่ปลูกสร้างสวนยาง เป็นการปรับพื้นที่ให้มีสภาพเหมาะสมสำหรับปลูกยางทั้งด้านการปฏิบัติงานในสวนยางและการอนุรักษ์ดินและน้ำ จำเป็นต้องวางแผนการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความสะดวกในการดูแลบำรุงรักษาต้นยาง การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง ได้แก่ การทำความสะอาดพื้นที่ การวางแนว การขุดหลุม และการจัดทำขั้นบันไดเป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเจริญเติบโตของต้นยางพารา


สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้กำหนดมาตรฐานความเจริญเติบโตของต้นยาง โดย
พิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง ได้แก่ พันธุ์ยางที่ใช้ปลูก สภาพแวดล้อมสมบัติของดิน การเลือกใช้วัสดุปลูก การบำรุงรักษาสวนยาง
อายุ (ปี)
มาตรฐานขนาดลำต้นที่ความสูง 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
2
12
14
16
3
21
24
27
4
29
33
37
5
36
41
46
6
43
47
52

การปลูกยางพาราด้วยต้นยางชำถุง

ต้นยางชำถุง หมายถึงวัสดุปลูกที่ได้จากการนำ เอาต้นตอตาปลูกในถุง โดยใช้เวลาชำ ถุงประมาณ 2 – 3 เดือน จนได้ต้นยางชำ ถุงขนาด 1–2 ฉัตร ขนาดของถุงที่ใช้ชำ ประมาณ 4 ½ - 5 x 14 – 15 นิ้ว เจาะรูให้น้ำ ระบายออก ดินที่ใช้บรรจุถุงจะต้องมีลักษณะค่อนข้างเหนียว หรือผลิตได้โดยวิธีติดตาในถุง โดยการเพาะเมล็ดในถุงจนได้ขนาดติดตา

การปลูกยางพาราโดยการติดตาในแปลง

การปลูกสร้างสวนยางโดยการติดตาในแปลง ต้นยางที่ปลูกจะมีระบบรากแข็งแรงดี มี
ความเจริญเติบโตสมํ่าเสมอ ไม่ต้องขุดถอนย้ายปลูก ให้ผลผลิตในระยะเวลาใกล้เคียงกับการปลูกโดยใช้ต้นตอตา การปลูกสร้างสวนยางโดยการติดตาในแปลง จะประสบผลสำ เร็จได้ขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ของต้นกล้ายาง ความสมบูรณ์ของกิ่งตายาง และความสามารถของคนติดตายาง มีขั้นตอน ดังนี้

การปลูกยางพาราด้วยต้นตอตายาง

 ต้นตอตายาง หมายถึง ต้นกล้ายางที่ติดตาด้วยยางพันธุ์ดีไว้เรียบร้อยแล้วแต่ตายังไม่แตกเป็นกิ่งออกมา คงเห็นเป็นต้นกล้าที่มีแผ่นตา แตกเป็นตุ่มติดอยู่เท่านั้น การปลูกสร้างสวนยางโดยใช้ต้นตอตายางได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะง่ายต่อการปฏิบัติ แต่ไม่แนะนำ สำ หรับการปลูกยางในเขตปลูกยางใหม่ ที่มีปริมาณนํ้าฝน และจำนวนวันฝนตกน้อยกว่าทางเขตปลูกยางเดิมในภาคใต้

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การวางแนวปลูกพารา

การวางแนวปลูกหมายถึงการกำหนดแถวปลูกว่าจะปลูกยางไปทิศทางใด ทั้งนี้เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับต้นยาง ป้องกันการชะล้างผิวหน้าดิน สะดวกในการกรีดและการเก็บนํ้ายาง มีวิธีการปฏิบัติ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. การกำหนดระยะปลูก
ระยะปลูกยางมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง สามารถใช้พื้นที่ปลูกยางได้อย่างคุ้มค่า ประหยัดในเรื่องการปราบวัชพืช ต้นยางเปิดกรีดได้เร็ว สวนยางมีลักษณะสวยงามเป็นระเบียบง่ายต่อการปฏิบัติงาน ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีที่สุดต้องมีพื้นที่ต่อต้นไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตร การแนะนำ

การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา

 การเตรียมพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา เป็นการปรับพื้นที่ให้เหมาะสมสำ หรับปลูกยางทั้งในด้านการปฏิบัติงานในสวนยางและการอนุรักษ์ดินและนํ้า ซึ่งจำ เป็นต้องวางแผนการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสะดวกในการดูแลบำ รุงรักษาต้นยาง การเก็บรวบรวมนํ้ายาง เป็นต้น การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง มีขั้นตอนที่สำ คัญคือ การโค่นต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นบางชนิด จะต้องเผาปรนเก็บเศษไม้และวัชพืชที่เหลือในพื้นที่ออกให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดแหล่งแพร่เชื้อโรค โดยเฉพาะโรครากยาง ควรเริ่มโค่นในฤดูแล้ง เพื่อสะดวกในการเก็บเศษไม้และตอไม้ออกจากพื้นที่ วิธีโค่นที่นิยมใช้ คือ โค่นด้วยเครื่องจักรและ