วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา

 การเตรียมพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา เป็นการปรับพื้นที่ให้เหมาะสมสำ หรับปลูกยางทั้งในด้านการปฏิบัติงานในสวนยางและการอนุรักษ์ดินและนํ้า ซึ่งจำ เป็นต้องวางแผนการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสะดวกในการดูแลบำ รุงรักษาต้นยาง การเก็บรวบรวมนํ้ายาง เป็นต้น การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง มีขั้นตอนที่สำ คัญคือ การโค่นต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นบางชนิด จะต้องเผาปรนเก็บเศษไม้และวัชพืชที่เหลือในพื้นที่ออกให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดแหล่งแพร่เชื้อโรค โดยเฉพาะโรครากยาง ควรเริ่มโค่นในฤดูแล้ง เพื่อสะดวกในการเก็บเศษไม้และตอไม้ออกจากพื้นที่ วิธีโค่นที่นิยมใช้ คือ โค่นด้วยเครื่องจักรและ
โค่นด้วยแรงคน การโค่นด้วยเครื่องจักรเป็นวิธีการโค่นล้มต้นยางด้วยรถแทรกเตอร์ ดันต้นยางให้ล้ม ตัดท่อนไม้ใหญ่เล็กที่ใช้ประโยชน์ได้ออกจากแปลง เผาเศษรากและกิ่งไม้เล็ก และไถพรวนดินอย่างน้อย 2 ครั้ง ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติกันทั่วไป กรณีโค่นด้วยแรงคน จะตัดต้นยางให้เหลือตอซึ่งยังไม่ตาย จำ เป็นต้องทำ ลายตอเหล่านี้ให้ตายและผุพังอย่างรวดเร็ว เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานของเกษตรกร และป้องกันการเกิดโรคราก หลังจากนั้นจะเก็บไม้ที่โค่นออกจากแปลงและไถพรวนดินอย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมทั้งเผาปรนเก็บเศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด และไถพรวนดินเพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมสำ หรับการปลูก แต่ต่อมาเนื่องจากไม้ยางราคาดี และสวนยางเป็นสวนปลูกแทนรอบใหม่ที่ระหว่างแถวยางมักไม่มีวัชพืชหรือไม้พุ่ม เกษตรกรส่วนใหญ่จึงนิยมโค่นต้นยางชิดพื้นดิน และไม่ทาสารเคมีทำ ลายตอปล่อยให้ต้นยางผุพังตามธรรมชาติ หลังจากนั้นจึงตัดท่อนไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ออกจากแปลง และเผาเศษกิ่งไม้เล็กอย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่ไม่เคยเป็นแหล่งระบาดของโรคราก หากไม่มีการเผาเศษกิ่งไม้ในระหว่างการเตรียมพื้นที่ด้วยย่อมจะมีผลทำ ให้สิ่งแวดล้อมดียิ่งขึ้น และมีผลทำ ให้ปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณธาตุอาหารในดินเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเผาเศษกิ่งไม้มีผลต่อโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน นอกจากนี้การปล่อยเศษซากพืชและกิ่งไม้เล็กไว้ในแปลงจะช่วยปกคลุมผิวดิน ทำ ให้ลดการชะล้างพังทลายของดิน และรักษาสิ่งแวดล้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น